ในยุคปัจจุบันการขายฝากบ้านได้รับความนิยมอย่างมากในสังคมของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่มีฐานร่ำรวย หรือมีเงินเหลือใช้ประมาณหนึ่ง เพราะเป็นอาชีพทำเงินได้ง่าย สะดวก แถมยังได้กำไรกลับมาเป็นกอบเป็นกำอีกด้วย อย่างไรก็ดีสำหรับคนที่กำลังสนใจในอาชีพนี้นั้นไม่ได้ง่ายอย่างที่ใครหลายคนคิดเอาไว้ และยังเป็นอาชีพที่ต้องใช้ความรู้ความชำนาญสูงอีกด้วย ฉะนั้นแล้ววันนี้เราจะมาเผย 4 ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาชีพรับ ขายฝาก บ้าน จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกัน  

4 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการรับ ขายฝาก บ้านที่คุณต้องรู้  

1. มีความรู้ในด้านกฎหมายเกี่ยวกับนิติกรรม  

การจะประกอบอาชีพรับ ขายฝาก บ้านได้นั้น จะต้องเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับที่นิติกรรมเสียก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายพระราชบัญญัติความคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ.2562 ที่ระบุไว้ว่า การขายฝากนั้นกรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อฝากทันทีเมื่อมีการทำสัญญาเสร็จสิ้น แต่ผู้ขายฝากนั้นสามารถนำเงินมาไถ่ถอนที่ดินได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด และจะต้องตกลงผ่านการจดทะเบียนนิติกรรมขายฝากจากเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน  

นอกจากนี้กฎหมายในมาตรา 491 ได้ระบุเพิ่มเติมไว้ว่า “อันว่าขายฝากนั้น คือ สัญญาซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินตกไปเป็นของผู้ซื้อ โดยต้องมีเงื่อนไขว่าผู้ขายอาจไถ่ถอนกลับคืนมาได้” ซึ่งถือได้ว่าเป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อคุ้มครองผู้ขายฝากโดยเฉพาะ ซึ่งหากคุณอยากเป็นผู้ซื้อฝากที่ดีแล้วละก็ ควรศึกษากฎหมายเหล่านี้ให้ละเอียดถี่ถ้วนนั่นเอง  

2. อัตราดอกเบี้ยที่จะได้รับจากการขายฝาก  

ต่อมาในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยนั้นก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน เพราะกฎหมายได้ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนว่า อัตราดอกเบี้ยผู้ซื้อฝากจะได้ประโยชน์สูงสุดไม่เกิน 15% ต่อปี หรือ 1.25% ต่อเดือน และจะได้รับเงินต้นเมื่อผู้ขายฝากทำการไถ่ถอนด้วยเงิน  

3. ระยะเวลาในการขายฝาก  

กฎหมายระบุไว้ว่า ในสัญญาขายฝากนั้นจะมีขั้นต่ำอยู่ที่ 1 ปี และสามารถไถ่ถอนคืนได้ตามที่กำหนดเอาไว้ในสัญญา และไถ่ถอนทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ถูกกำหนดเอาไว้ไม่เกิน 10 ปี ส่วนทรัพย์สินสังหาริมทรัพย์ถูกกำหนดเอาไว้ไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ทำสัญญาขายฝาก 

4. วงเงินในการขายฝาก  

สำหรับวงเงินในการขายฝากนั้น ส่วนใหญ่ผู้ รับ ขายฝาก บ้านจะกำหนดเอาไว้ที่ประมาณ 50-70% ของราคาประเมิน และมูลค่าตลาดในปัจจุบัน หรือตามสภาพของตัวอาคารที่อยู่อาศัย และทำเลที่ตั้งของตัวบ้านนั่นเอง  

นอกจากเรื่องที่ต้องรู้ทั้ง 4 ข้อนี้แล้ว ยังมีเรื่องเกี่ยวกับขั้นตอนการทำเอกสาร และข้อบังคับต่าง ๆ หากลูกหนี้เกิดการผิดนัด ที่ผู้รับ ขายฝาก บ้านควรจะต้องศึกษาเอาไว้ เพราะหากไม่ศึกษาเรื่องนี้ให้ละเอียดแล้วละก็ การซื้อฝากนั้นก็จะสำเร็จไปได้ยากนั่นเอง และยังเสียเวลาในการดำเนินงานอีกด้วย